ที่ปรึกษาทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญอย่างไร

ทรัพยากรบุคคล หรือ HRM (Human Resource Management ) / HRD (Human  Resource  Development) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เสมือนเป็นยาสามัญประจำองค์กรเลยทีเดียว อาจารย์จะย้ำแล้วย้ำอีกว่าสำหรับทุกๆองค์กร “คน” เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ธุรกิจจะดีหรือดับ ก็อยู่ที่ “คน” นี้ละ ดังนั้น การบริหารทรัพยากรบุคคลจึงมีความสำคัญและค่อนข้างจะยุ่งยาก จุกจิก หากมีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีย่อมจะทำให้การบริหารงานในระบบต่างๆ ประสบความสำเร็จตามไปด้วย จงอย่าลืมว่า HR คือหัวใจสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลงขององค์กร HR เป็นเส้นแบ่งบางๆระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง การสื่อสาร HR จะต้องใช้เทคนิค จิตวิทยาพอสมควร ต้องทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก ห้ามทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่โดยเด็ดขาด เท่าที่อาจารย์อยู่ในสายอาชีพนี้มานานหลายสิบปี อาจารย์พบว่า HR มืออาชีพที่มีความรู้ ความเข้าใจ ครอบคลุมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้นมีน้อยแสนน้อย ประกอบกับเจ้าของธุรกิจเองก็มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ เพราะมุ่งเน้นไปที่ยอดขาย ยอดการใช้บริการซะมากกว่า แต่เมื่อองค์กรเกิดปัญหาหรือการบริหารทรัพยากรบุคคลผิดพลาด องค์กรจะส่งผลเป็นวงกว้างและกระทบระยะยาว ที่ใดมีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลดีจะมีความสำเร็จ และมั่นคง อย่างยั่งยืน ที่ใดไม่มีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีก็ยากที่จะรักษาสถานภาพไว้ได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการทั่วไปมักมีความเชื่อว่า HR มีแต่เรื่องเสียเงิน สิ้นเปลือง แต่ HR ที่มีคุณภาพจะทำให้องค์กรลดความเสียหายหรือค่าใช้จ่าย และในขณะเดียวกันก็ยังก่อให้เกิดรายได้อย่างมหาศาลอย่างมั่นคงเช่นกัน ดังนั้น อาจารย์ย้ำเน้นเลยว่า “การบริหารทรัพยากรบุคคล สำคัญมากไม่น้อยกว่าการขาย”

SENMENTOR  เราเชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource) อันถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ มั่นคง อย่างยั่งยืน เราเน้นการสร้างความสุขในที่ทำงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กร แรงบันดาลใจ เรื่องเล่า เรื่องราว ประสบการณ์ของพนักงานเพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากพี่สู่น้อง ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือแม้แต่ระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับองค์กรอย่างเคร่งครัดอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อองค์กรสูงสุด ที่ผ่านมาเซ็นเมนทอร์เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรต่างๆมากมาย เช่น สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA), บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้าจำกัด, บริษัท วีพีเอสอินดัสตรี้ จำกัด, บริษัท นันยางการ์เม้นท์ จำกัด, บริษัท ดีเอชเอ สยามวาลา จำกัด, บริษัท เทเลอินโฟมีเดียจำกัด(มหาชน)ฯลฯ

บทความโดย: อาจารย์พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและพัฒนาองค์กร